ติดเครดิตบูโร มีผลต่อการขอสินเชื่อ ส่วนบุคคลอย่างไร? | ซีเอแอล ลิสซิ่ง2009
ติดเครดิตบูโร มีผลต่อการขอสินเชื่อ ส่วนบุคคลอย่างไร? | ซีเอแอล ลิสซิ่ง2009
สำหรับคนที่จะขอสินเชื่อส่วนบุคคลต้องฟังทางนี้ให่ดี คำว่าเครดิตบูโร คงจะเป็นคำที่คุ้นหูใครหลายคน เช่น ติดเครดิตบูโรจะกู้ไม่ผ่านนะ เป็นต้น เครดิตบูโร มีผลต่อการขอสินเชื่อส่วนบุคคลอย่างไร
เครดิตบูโรมีส่วนในการพิจารณาสินเชื่อหรือไม่
การพิจารณาวิเคราะห์สินเชื่อ หรือออกบัตรเครดิตให้กับผู้ที่มาขอสินเชื่อนั้น ทางสถาบันการเงินที่คุณขอ จะนำข้อมูลต่างๆ ไปพิจารณารวมกับข้อมูลที่แสดงความสามารถในการทำรายได้ เช่น เงินเดือน อาชีพ ภาระในครอบครัว เป็นต้น ดังนั้นการพิจารณาเป็นสิทธิและเป็นอำนาจของสถาบันการเงิน เครดิตบูโรไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามในทางกฎหมายนั้น หากสถาบันการเงินปฏิเสธการให้สินเชื่อแก่คุณ สถาบันการเงินนั้นๆ ต้องแสดงเหตุผลและแจ้งให้คุณทราบเป็นหนังสือ โดยคุณสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวได้ที่ศูนย์ตรวจสอบเครดิตบูโร ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับคำปฏิเสธการขอสินเชื่อ
เราสามารถตรวจเครดิตบูโรได้อย่างไร
ยื่นคำขอผ่านเคาน์เตอร์ ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ และธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ได้ทุกสาขา บริษัทฯ จะจัดส่งรายงานผ่านทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนภายใน 7 วัน หรือ ยื่นคำขอผ่านตู้เบิกเงินสด (ATM) ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทฯ จะจัดส่งรายงานผ่านทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนภายใน 7 วัน
ข้อควรรู้อีกอย่างนั้น ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 บัญญัติให้สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องนำส่งข้อมูลของลูกค้าของตนแก่บริษัทข้อมูลเครดิตที่ตนเป็นสมาชิก แต่เมื่อได้นำส่งในครั้งแรกแล้ว สถาบันการเงินนั้นต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นำส่งข้อมูล แต่ไม่ต้องขออนุญาตจากลูกค้า นอกจากนั้น สถาบันการเงินสมาชิกอาจต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบในกรณีอื่นๆ
1. เตรียมพร้อมก่อนขอสินเชื่อ
เครดิตบูโรคือตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เราประเมินโอกาสในการขอสินเชื่อด้วยตัวเองก่อนไปธนาคาร ไม่ว่าจะกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ สมัครบัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ ว่าเรามีโอกาสกู้ผ่านได้มากน้อยแค่ไหน หากในข้อมูลเครดิตยังมีเลข 20 ซึ่งหมายถึงหนี้ค้างชำระอยู่หลายบัญชี ก็เป็นไปได้สูงว่าธนาคารอาจจะไม่อนุมัติสินเชื่อให้เรา เนื่องจากนำข้อมูลจากเครดิตบูโรไปพิจารณาแล้วว่าเรามีแนวโน้มหาเงินมาจ่ายหนี้ก้อนใหม่ไม่ไหว
2.รู้สถานะการเงินของตัวเอง
พื้นฐานของการวางแผนการเงินที่ดีก็คือ เราต้องรู้ก่อนว่าสถานะการเงินของเราเป็นอย่างไร การเช็กเครดิตบูโรของตัวเองจึงมีความสำคัญ เพื่อให้รู้ว่าในวันนี้เรามีหนี้ก้อนไหนบ้าง ประวัติการชำระหนี้เราดีไหม หากค้างชำระหนี้บ่อยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเป็นโอกาสที่ดีในการขอสินเชื่อต่อไป ที่สำคัญ อย่าลืมเช็กประวัติการค้างชำระด้วยว่าถูกต้องหรือเปล่า หากไม่ถูกต้องสามารถขอแก้ไขได้ รวมถึงตรวจให้แน่ใจว่าเมื่อจ่ายหนี้ที่ค้างไปหมดแล้ว มีสถานะปิดบัญชี ยอดหนี้เป็นศูนย์หรือไม่
3.ป้องกันหนี้ที่เราไม่ได้ก่อ
สำหรับใครที่ยังไม่ได้มีแผนการว่าจะเปิดบัตรเครดิต กู้เงินซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ ก็ไม่ควรมองข้ามการตรวจเครดิตบูโร เพราะช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่ามีใครแอบอ้างนำข้อมูลส่วนตัวของเรา ไม่ว่าจะสำเนาบัตรประชาชน หรือเอกสารการเงินต่าง ๆ ไปแอบอ้างเพื่อขอสินเชื่อ เพื่อป้องกันหนี้ที่เกิดจากมิจฉาชีพ
4.เอกสารสำคัญประกอบการสมัครงาน
ข้อมูลเครดิตถูกใช้เป็นเอกสารสมัครงานชิ้นสำคัญในการตรวจสอบความมั่นคงด้านการเงินของหลายสายงาน บางตำแหน่งอาจถูกขอให้แสดงเครดิตบูโรของตนเองเพื่อประปะกอบการพิจารณาเข้าทำงาน รวมถึงตำแหน่งผู้บริหารในหลายสายงานมักต้องตรวจสอบและให้แสดงข้อมูลเครดิตของตนเองในทุกปีเพื่อความโปร่งใสด้านการเงิน
ที่มา : https://www.moneyguru.co.th