ปัจจัยและความเสี่ยงด้านสินเชื่อ | ซีเอแอลลิสซิ่ง 2009

ปัจจัยและความเสี่ยงด้านสินเชื่อ เนื่องจากธุรกิจแบบแฟคเตอริ่งเป็นการให้สินเชื่อระยะสั้น ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ทางการค้า ความเสี่ยงด้านสินเชื่อจึงเกิดจากคุณภาพลูกหนี้การค้าและลูกค้ารวมถึงคุณภาพของสินค้า และบริการที่ลูกค้าส่งมอบให้กับลูกหนี้การค้า หกาสินค้าหรือบริการมีปัญหา ลูกหนี้การค้าอาจปฏิเสธการรับสินค้าหรือบริการและไม่ชำระหนี้ตามเอกสารการค้านั้นๆ  หรืออาจเป็นกรณีที่ลูกหนี้การค้ามีปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้แทนลูกหนี้การค้าได้ตามสัญญา

บริษัทมีการบริหารด้านสินเชื่อ ด้วยการตั้งเกณฑ์และกำหนดขั้นตอน ในการตรวจสอบทั้งลูกค้าและลูกหนี้การค้าอย่างรัดกุมก่อนการอนุมัติสินเชื่อ เป็นมาตการที่บริษัทพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมายาวนาน เกณฑ์ที่กล่าวมามีดังนี้

1.) ทำ Credit scoring เพื่อใช้วิเคราะห์ลูกค้ารายใหม่ที่ขอวงเงินสินเชื่อ และวิเคราะห์ลูกหนี้การค้าที่ลูกค้าต้องการนำมาขายโอนสิทธิเรียกร้อง ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์สิทธิ Credit scoring  เช่น ระยะเวลาดำเนินกิจการ ประวัติผู้ถือหุ้น/ผู้บริหาร ประวัติการชำระหนี้ งบการเงิน ความสามารถในการชำระหนี้ แนวโน้มของอุตสาหกรรมเป็นต้น 

2.) กำหนดสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อให้กับแต่ละภาคธุรกิจ โดยจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้างทั้งหมดของลูกหนี้

3.) กำหนดเกณฑ์วงเงินกับลกค้าแต่ละราย โดยการใช้วงเงินของลูกค้ารายใดรายหนึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท

4.) กำหนดเกณฑ์การใช้วงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติของลูกค้าแต่ละราย โดยหารใช้วงเงินของลูกค้ารายใดรายหนึ่ง จะไม่เกินร้อยละ 10 ของวเงินรวมที่ลูกค้าทั้งหมดได้ใช้วงเงิน 

5.) กรณีที่เป็นลูกค้าเดิม บริษัทมีการทบทวนข้อมูลลูกค้า และลูกหนี้การค้า เป็นประจำปีละครั้ง บาฃกรณีอาจทำปีละ 2 ครั้ง หรือทำทุกไตรมาสแล้วแต่ละบริษัทจะพิจารณาถึงความจำเป็น

6.) ตรวจสอบข้อมูลจากศาลแพ่งบางแห่งว่ามีคดีฟ้องร้องกับคู่กรณีอื่นใดหรือไม่ รวมทั้งเช็คข้อมูลจากศาลล้มละลายกลาง นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบข้อมูลจากเครดิตบูโรโดยลูกค้าเป็นผู้นำข้อมูลจากเครดิบูโรมาพิจารณา

หากมีการนำเสนอวงเงินของลูกค้ารายใดที่ผิดไปจากเกณฑ์ดังกล่าว จะต้องให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้อนุมัติวงเงิน ด้วยมาตการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น บริษัทจึงเชื่อมั่นในคุณภาพของลูกค้าและลูกหนี้การค้า

ที่ผ่านมาธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลมีการแข่งขันกันสูงขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่ได้รับสูงกว่าการปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิต ทำให้ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเข้ามาแข่งขันในธุรกิจดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว แต่คาดว่าความเสี่ยงดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญเนื่องจากผู้ประกอบที่เป็นสถาบันการเงินจะเน้นกลุ่มลูกค้าระดับเกรดเอในขณะที่กลุ่มบริษัทจะเน้นกลุ่มลูกค้าระดับเกรดบีโดยเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ใหญ่บ้านที่มีความคุ้นเคยและความเข้าใจในพฤติกรรมในการชำระหนี้ รวมทั้งเน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าเก่าของกลุ่มบริษัทประกอบกับกลุ่มบริษัท มีเจ้าหน้าที่สาขาทั่วประเทศ ที่เน้นทำกิจกรรมทางการตลาดและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้กลุ่มบริษัทมีความเชื่อมั่นในศักยภาพการแข่งขัน

ธุรกิจสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพ เป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยกระทรวงการคลังได้ออกมาตการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย ซึ่งมีบริษัทต่างๆในการเข้าร่วมในการขอรับใบอนุญาตในการดำเนินการ ดังนั้นหากมีบริษัทเข้าร่วมการขออณุญาตมากขึ้นก็จะทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น

ปัจจัยและความเสี่ยงด้านสินเชื่อ

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่เข้ามาทำธุรกิจให้บริการเร่งรัดหนี้สิน รวมทั้งผู้ประกอบการท้องถิ่นก็เข้ามาให้บริการด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีการแข่งขันในเรื่องของราคาและอาจจะมีเรื่องภาพลักษณ์ของการติดตามหนี้ของผู้ประกอบการบางราย ซึ่งอาจก่อให้เกิดข้อร้องเรียนได้ 

สัญญาสินเชื่อและหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ ในหลักประกันถือเป็นสินทรัพย์หลักในการดำเนินธุรกิจบริการสินเชื่อสูญหายหรือได้รับความเสียหายจากอัคคีภัยอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจและผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท

กลุ่มบริษัทเล็งเห็นถึงความเสี่ยงดังกล่าว และมีมาตรการในการลดความเสี่ยง โดยจัดให้มีห้องเก็บเอกสารสำคัญ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลากสนให้สินเชื่อที่สั้น และวงเงินสินเชื่อที่ต่ำ โดยห้องเอกสารสำคัญาามีการควบคุมเข้าออกที่รัดกุม

เนื่องจากหลักประกันสินเชื่อโดนส่วนใหญ่ของกลุ่มบริษัท เป็นสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ซึ่งมีความยากในการติดตามหลักประกันหากลูกค้าค้างชำระค่างวด มากกว่าหลักประกันประเภทอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น หากกลุ่มบริษัทไม่สามารถติดตามหลักประกันเพื่อนำมาขายและชำระหนี้ได้ ก็จะส่งผลกระทบทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทโดยตรง เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว กลุ่มบริษัทจึงมีนโยบายปล่อยสินเชื่อให้กับบุคคล หรือหลักประกัน หรือผู้ค้ำประกันที่มีอยู่ในภูมิลำเนาในพื้นที่

Similar Posts