ปัจจัย 5 ประการในการทำธุรกิจ ให้ได้กำไรตามอุตสาหกรรม
ปัจจัย 5 ประการในการทำธุรกิจการเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งรายใหม่จะทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในอุตสาหกรรม ซึ่งอาจส่งผลกระทบในผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมรายเดิมประสบปัญหาได้ ดังนั้นยิ่งมีข้อจำกัดในการเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งรายใหม่มากเท่าใด ก็จะยิ่งเป็นผลดีในการเข้าสู่อุตสาหกรรมอยู่แล้วมากเท่านั้น โดยปัจจัยที่เป็นข้อจำกัด
ปัจจัยที่ 1
ข้อจำกัดในการเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งใหม่ การเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งรายใหม่จะทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในอุตสาหกรรม ซึ่งอาจส่งผลกระทบในผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมรายเดิมประสบปัญหาได้ ดังนั้นยิ่งมีข้อจำกัดในการเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งรายใหม่มากเท่าใด ก็จะยิ่งเป็นผลดีในการเข้าสู่อุตสาหกรรมอยู่แล้วมากเท่านั้น โดยปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดประกอบด้วย
-การประหยัดเนื่องจากขนาด ผู้ที่จะเข้ามาแข่งขันทำธุรกิจในตลาดใหม่
-ความแตกต่างของสินค้าและบริการ คู่แข่งรายใหม่จะพบการแข่งขันในคู่การตลาดสินค้าและตนเองจะต้องลงทุนด้านการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างมาก
-เงินลงทุน คู่แข่งรายใหม่ต้องเสี่ยงกับการลงทุนต่างๆ อาทิ การสร้างโรงงานและการประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด
-ต้นทุนในการปรับเปลี่ยนไปใช้สินค้าอื่น คู่แข่งรายใหม่จะมีอุปสรรคในการเสนอขายสินค้าแข่งขันกับผู้ขายรายเดิม เนื่องจากลูกค้าไม่สนใจที่จะหันไปใช้สินค้าอื่น ที่ไม่คุ้นเคย
-การเข้าถึงช่องทางการจำหน่าย คู่แข่งรายใหม่จะต้องใช้ความพยายามที่จะเข้าไปแทรกแซงช่องทางการจัดจำหน่าย โดยชักจูงหรือใช้ข้อเสนอที่ดีกว่าหรือใช้พ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีก
-ความเสียเปรียบด้านต้นทุน คู่แข่งรายใหม่จะมีข้อจำกัดด้านต้นทุนการดำเนินงาน ซึ่งมีตัวแปรที่เกี่ยวข้อง อาทิ การเสียเงินลงทุน เพื่อซื้อลิขสิทธิ์การผลิต
ปัจจัยที่ 2
ความรุนแรงของการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมการแข่งขันทีรุนแรง ไม่เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการในปัจจุบัน เพราะนั่นหมายถึงส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลงของ Margin และผลกำไรที่ต้องหดหายไปในที่สุด ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดของปัยหานี้คือ
-จำนวนคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม หากมีจำนวนมากย่อมส่งผลให้การแข่งขันที่รุนแรง แต่อาจมีบางกรณีที่แม้มีการประกอบการน้อยราย
-อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ยิ่งอุตสาหกรรมมีอัตราการเติบโตที่สูงก็ยิ่งสามารถดูดซับเอาการแข่งขัน การแข่งขันจะยิ่งน้อยลง เพราะจะมี bran loyalty เกิดขึ้น
-ข้อจำกัดในการออกอุตสาหกรรม ปัจจัยนี้จะครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ กลยุทธและจิตวิทยา
-ความแตกต่างทางพื้นฐานของแต่ละอุตสาหกรรม มีกลยุทธ์การแข่งขันแตกต่างกันหลายด้าน บางอุตสาหกรรมอาจต้องใช้การแข่งขันที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอนอกจากการแข่งขันด้านราคากับจีนแล้ว ยังต้องแข่งคุณภาพด้านยุโรป และการแข่งขันกันเองภายในประเทศ
-โครงสร้างการแข่งขันในอุตสาหกรรม โดยพิจารณาว่าเป็นการแข่งขันสมบูรณ์ หรือแข่งขันน้อยราย
ปัจจัยที่ 3
ความเสี่ยงจากสินค้าทดแทนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ผลิตทำการค้นหาสินค้าอื่นมาทดแทนได้แก่ ต้นทุนราคาที่ต่ำกว่า คุณภาพสินค้าทีได้ผลิตมีค่ามากกว่า และสามารถให้ผลตอบแทนที่มีค่าสูงขึ้น หรือสามารถตอบสนองต่อความต่องการของลูกค้าที่อาจแปรเปลี่ยนไปจากความต้องการเดิม ดังนั้นจึงก่อให้เกิดการแข่งขันในด้านการตัดราคาหรือเป็นการแข่งขันด้านปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือบริการให้เหนือกว่า เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งหากลูกค้าตอบสนองต่อสินค้าที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนกันได้ก็จะทำให้ผู้ผลิตสามารถที่จะลดราคาในระดับที่ให้กำลังลดราคาสูงได้ จนทำให้คู่แข่งรายอื่นๆ ทำการแข่งขันด้านราคาหรือกลยุทธ์ในการคิดค้นหาราคาสินค้าที่จะมาทดแทนในรูปแบบใหม่
ปัจจัยที่ 4
อำนาจต่อรองของผู้ซื้อผู้ซื้อจะสร้างแรงกดดันให้ผู้ขาย จนทำให้ต้องลดราคาให้ถูกลง ปรับคุณภาพสินค้าหรือราคาให้ถูกลง ปรับคุณภาพสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้น ซึ่งผู้ซื้อจะมีอิทธิพลต่อผู้ขาย ดังนี้
-ผู้ซื้อทำการสั่งซื้อในปริมาณที่มากเพื่อเทียบกับยอดขายของผู้ขาย
–ผู้ซื้อสามารถเสาะแสวงหา วัตถุดิบหรือสินค้าจากแหล่งอื่นได้ เพราะเป็นวัตถุดิบหรือสินค้าหรือสินค้าไม่แตกต่างกัน
-ต้นทุนการที่ผู้ซื้อจะหันไปซื้อวัตถุดิบ หรือสินค้าจากแหล่งอื่นไม่สูงมากนัก
-เมื่อผู้ซื้อขาดความสามารถในการทำกำไรในระดับที่น่าพึงพอใจ จึงต้องพยายามลดต้นทุนจากการสั่งซื้อ จึงมักสร้างแรงกดดันโดยผู้ขายโดยการต่อรองในเงื่อนไขต่างๆ
-ผุ้ซื้อสามารถทำ backward Integration และกลายมาเป็นคู่แข่ง
-วัตถุดิบหรือสินค้าที่ผู้ซื้อนำมาใช้ในกระบวนการผลิต ไม่ถือเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นหรือไม่ได้เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสินค้าหรือบริการของผู้ซื้อวัตถุดิบ
ปัจจัยที่ 5
ปัจจัยที่ห้า : อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบหรือซับพลาเออร์ผู้ค้าวัตถุดิบ สามารถสร้างแรงกดดันต่อผู้ประกอบธุรกิจในอุสาหกรรมด้านการปรับระดับราคาให้สูงขึ้นหรือปรับลดคุรภาพสินค้า หรือบริการให้ต่ำลง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจ ต้องเสียกำไรไปจากการที่วัตถุดิบมมีราคาสูงขึ้น ปัจจัยที่ส่งให้ผู้ค้าวัตถุดิบ สามารถสร้างแรงกดดันได้คือ
-มีผู้ค้าวัตถุดิบน้อยรายขณะที่มีผู้ต้องการซื้อจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้ผู้ค้ามีอิทธิพลเหนือผู้ซื้อทั้งในราคา เงื่อนไข และการซื้อขายอื่นๆ
-เป็นผู้ค้าวัตถุดิบที่ไม่มีสินค้าอื่นมาทดแทน
-ผู้ค้าวัตถุดิบไม่เห็นความสำคัญของลูกค้า เพราะไม่ได้เป็นลูกค้ากลุ้มเป้าหมาย นอกจากยอดการสั่งซื้อไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับปริมาณยอดขายทั้งหมดที่ควรขาย
-วัตถุดิบของผู้ค้ามีลักษณะเด่นที่ลูกค้าอาจจะต้องเผชิญกับต้นทุนการเปลี่ยนแปลงจากการหาวัตถุดิบในแหล่งอื่น