ระบบการเงินไทย

ระบบการเงินไทย ในปี 2020 ในระบบเศรษฐกิจเสรี ระบบการเงินเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งในการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเศรษฐกิจ จากผู้ที่มีเงินไปจนถึงผู้ที่มีการลงทุน ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุน การผลิตและการจ้างงานอันเป็นกาขับเคลื่อนอันสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตและมีเสถียรภาพทั้งนี้ระบบสถาบันการเงินที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมหน้าที่ระบบการเงินให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

ระบบการเงินไทย ในปี 2020

1.หน้าที่ของระบบการเงิน

โดยผู้ที่มีเงินออมสามารถปล่อยกู้หรือลงทุนโดยตรงในตลาดทุนด้วยการซื้อหลักทรัพย์ที่ออกโดยผู้การระดมทุน กรณีที่ผู้ลงทุนต้องการความเสี่ยงจากการตัดสินใจลงทุน สถาบันการเงินที่สำคัญในการระดมเงินออมจากประชาชนและปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจ ภาครัฐและภาคครัวเรือน ในกรณีสถาบันการเงินจะทำหน้าที่ในการประเมินความเสี่ยงในการให้สินเชื่อและรับความเสียหายแทนผู้ฝากในระดับหนึ่ง

บทบาทที่สำคัญของสถาบันการเงิน การเป็นตัวกลางในการเโอนเงินและการชำระเงิน ปัจจุบันผู้ให้บริการประเภท Non-bank และห้างสรรพสินค้าต่างทำหน้าที่เป้นตัวกลางชำระสินค้าและการบริการต่างๆด้วย การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการชำระสินค้าและบริการ

ความเสี่ยงในระบบการเงิน เป็นภาระต้นทุนต่อเศรษฐกิจของประเทศ วึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจได้ ดังนั้นระบบการบริหารจึงเป็นสิ่งจำเป็น การบริหารความเสี่ยงมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น

-การจำกัดความเสี่ยง = การทำประกันชีวิตหรือการทำประกันผลตอบแทนจากการลงทุน โดยช่องทางและเครื่องมือต่างๆในระบบการเงิน เช่น หลักประกัน และ สารอนุพันธ์

-การกระจายความเสี่ยง เช่น การลงทุนในหลักทรัพย์ที่หลากหลายผ่านกองทุนรวม

-การกำจัดความเสี่ยง เช่น การหักลบความเสี่ยงจากการลงทุนผ่านการซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือเครื่องมือ อนุพันธ์อื่นๆ

สถาบันการเงินเป็นผู้รับความเสี่ยง เนื่องจากเงินฝากเป็นหนี้สิน ที่มีภาระต้องจ่ายคืนแก่ผู้ออมเมื่อถูกทวงถาม ขณะที่สินเชื่อที่ปล่อยให้ผู้ที่ต้องการเงินลงทุนต้องมีความเสี่ยงจากการรับชำระคืนตามสัญญา ดังนั้น สถาบันการเงินซึ่งเป็นตัวกลางในการจัดสรรทรัพยากรจึงมีส่วนช่วยในการป้องกันความเสี่ยงจากการสูญเสียของทั้งผู้ออมและผู้กู้ยืม ในระบบทำธุรกิจที่ยังมีความซับซ้อน ธนาคารพาณิชย์ยังต้องมีบทบาทในการผลิต และการประมวลผลข้อมูลทางการเงิน โดยจะแสดงแก่สาธารณชนในรูปของอัตราดอกเบี้ยและราคาหลักทรัพย์ วึ่งจะเป็นปัจจัยต่อการตัดสินใจออมหรือลงทุนของภาคเศรษฐกิจอื่นการจะให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีองค์ประกอบหรือปัจจัยพื้นฐานทางการเงินและการมีธรรมาภิบาลของผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการเงินด้วย เช่นการจัดทำระบบบัญชี และเผยแพร่ข้อมูลทางการเงินของธุรกิจและสถาบันการเงินที่เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีและโปร่งใส

ระบบการเงินไทย ในปี 2020
2.องค์ประกอบของระบบการเงิน

สถาบันการเงินเป็นผู้รับความเสี่ยงในการปล่อยกู้ หรือลงทุนให้กับผู้ฝากเงินและมีภาระต้องคืนเงินฝากตามเงื่อนไขที่กำหนด สถาบันการเงินในประเทศไทยประกอบด้วย

-ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นตัวกลางหลักในการระดมเงินฝากจากผู้ฝากเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์แบ่งเป็น ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ ธคารพาณิชย์รายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นยริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศและธนาคารสาขา ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ

-บริษัทเงินทุน ซึ่งระดมเงินทุนจากประชาชน ในรูปแบบของตั๋วสัญญาใช้เงิน และใช้เงินนั้นเพื่อประกอบธุรกิจให้กู้ยิมโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ รับซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝาก 

-สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งมีกฏหมายเฉพาะในการจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาเฉพาะด้านของรัฐบาล ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 

ระบบการเงินไทย
3.ตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน

ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ต้องการทุนในหลักทรัพย์และตราสารต่างๆ โดยไม่่ผานสถาบันการเงิน ซึ่งผู้ลงทุนจะรับความเสี่ยงในการลงทุน และหากไม่ต้องการถือตราสารจนครบกำหนด ก็สามารถซื้อขาย/การผ่อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนมือในสิทธิเหนือตราสารดังกล่าว โดยอาศัยผู้ให้บริการทางการเงิน ได้แก่บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และธนาคารพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำ และจัดจำหน่ายตราสารหนี้ และที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อความสะดวกและเสริมสภาพคล่องในตลาด

ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจจัดการการลงทุน และกองทุนรวมประเภทต่างๆ บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม ทำหน้าที่เป็นตัวกลางสนับสนุนการระดมทุน และการลงทุนในตลาดสารทุน ตราสารหนี้

Similar Posts