4 เทคนิคบริหารเงินและหนี้ ฝ่าวิกฤติโควิด-19 | ซีเอแอล ลิสซิ่ง
4 เทคนิคบริหารเงินและหนี้ สถานการณ์ “โควิด-19” ยากจะคาดเดาและเริ่มส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ “รายได้” ไม่ว่าจะเป็นภาคภาคการท่องเที่ยว ภาคบริการ ภาคธุรกิจ ลากยาวไปถึงภาคการผลิตบางส่วน ผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับข้องจำนวนมากต้องถูกเลื่อนงานหรือยกเลิกโดยไม่มีกำหนด ซึ่งมีผลกระทบต่อรายได้ในแต่ละเดือน โดยเฉพาะคนทำงานกลุ่ม Gig Economy (ลักษณะการทำงานที่ไม่ใช่งานประจำ) เมื่อ “รายได้หด” แต่ “ค่าใช้จ่าย” และ “หนี้สิน” ยังต่อคิวรอเป็นหางว่าว โดยไม่รู้กำหนดที่แน่นอนว่า สถานการณ์นี้จะจบลงเมื่อไหร่ สิ่งที่ต้องทำคือ “บริหารจัดการเงินให้สอดคล้องหนี้สิน” เพื่อฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้! วันนี้ ซีเอแอล ลิสซิ่ง จะแนะนำการบริหารจัดการเงินและการลงทุนเพื่อให้ผ่านวิกฤติในไตรมาสนี้ไปได้ ประกอบไปด้วย 4 เรื่องที่ควรให้ความสำคัญได้แก่
1. จัดการหนี้เก่า
ในกรณีที่มีหนี้ที่จำเป็นต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน แต่กลับมีรายได้ลดลง ขาดรายได้ หรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถผ่อนชำระได้ไหวเนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ควรวางแผนการจ่ายหนี้ให้เรียบร้อยก่อนจะกลายเป็น “หนี้เสีย” กรณีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโคโรน่าไวรัส ปัจจุบันมีมาตรการต่างๆ จากภาครัฐ และเอกชนออกมาช่วยเหลือพอสมควร ใครที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการช่วยเหลือก็สามารถใช้โอกาสตรงนั้นเพื่อลดภาระได้ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในข่ายความช่วยเหลือก็สามารถพูดคุยเจรจาการจ่ายหนี้เพื่อลดภาระหนี้ชั่วขณะได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย พักจ่ายเงินต้นไว้ชั่วคราวซึ่งจะช่วยเบาภาระการผ่อนเงินก้อนใหญ่ๆ ได้
“คนที่จ่ายไม่ไหวจริงๆ แนะนำให้ทำวิธีที่ง่ายที่สุดคือการเจรจากับคู่สัญญาของคุณ อย่าคิดเอง อย่าหลบ อย่าเลี่ยง”
2. ชะลอการก่อหนี้ใหม่ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะลุกลามในวงกว้างกว่าที่คาด หากเปรียบเทียบกับปี 2540 เห็นสัญญาณเศรษฐกิจแย่จากการที่ธนาคารมีปัญหา แต่สำหรับโรคระบาดในครั้งนี้ ยากที่จะคาดเดาว่าจะเกิดขึ้นสั้นหรือยาวแค่ไหน ดังนั้นหากคิดจะสร้างอะไรใหม่ๆ ที่จำเป็นต้องมีภาระหนี้สินตามมา อาจจะต้องเลื่อนออกไปก่อน เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือสร้างหนี้ก้อนใหญ่ จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือพิจารณาให้รอบคอบก่อน ถ้าสิ่งที่กำลังจะซื้อไม่จำเป็นจริงๆ ณ เวลานี้ ก็อย่าเพิ่งรีบซื้อ เพราะการสร้างรายจ่ายถาวรในสภาวะที่รายได้ไม่ถาวร หรือรายรับสั่นคลอนเป็นเรื่องที่อันตราย
“คนส่วนใหญ่อาจไม่ให้ความสำคัญ และไม่อยากจะเก็บเงินสดสำรองไว้ แต่สภาวะแบบนี้จะได้เห็นว่า เงินสำรอง มีความสำคัญแค่ไหน”
3. ควบคุมรายจ่าย
การควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม คือวิธีจัดการเงินสุดเบสิกที่ยังได้ผลดี โดยเฉพาะในภาวะวิกฤติเช่นนี้เป็นช่วงที่ต้อง “จัดการเงิน” สำหรับส่วนที่จำเป็นและส่วนที่ไม่จำเป็นให้ได้อย่างชัดเจนเพื่อควบคุมให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างราบรื่น สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นและต้องให้ความสำคัญก่อน เช่น การค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของลูก จะต้องถูกจัดสรรไว้เป็นอันดับแรกเมื่อมีรายได้ แล้วค่อยปรับลดค่าใช่จ่ายส่วนอื่นๆ ที่จำเป็นน้อยกว่าลง อย่างสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า ค่าทำเล็บ ค่ากาแฟที่มีราคาค่อนข้างสูง เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในแต่ละเดือนมากขึ้น หรือถ้าเป็นไปได้ในช่วงนี้ก็ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปเลย
“สถานการณ์แบบนี้ช่วยให้เราเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นว่า อันไหนคือ need อันไหนคือ want”
4. ลงทุนอย่างระมัดระวัง เพื่อเปิดรับโอกาสในอนาคต
สภาวะที่เกิดขึ้นตอนนี้เป็นวัฏจักรวงรอบช่วงเศรษฐกิจที่มักจะมีขาขึ้นขาลงเป็นปกติ แม้จะดูน่ากลัว แต่อย่ากลัวจนถึงขั้นไม่ลงทุนเลยหรือไม่ใช้จ่ายเลย เพราะว่าในช่วงเวลาที่คนอื่นกำลังกลัว เราอาจปันบางส่วนใส่ไว้ในการลงทุนบ้าง เพราะหลายครั้งจะเห็นว่าเมื่อเศรษฐกิจกลับมา เพราะคนที่ยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาแบบนี้ก็มักจะได้ผลลัพธ์ ในช่วงที่เศรษฐกิจกลับคืนมาค่อนข้างดีเสมอ
“การลงทุนระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ผู้ลงทุนจะได้รับหน่วยลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นในสภาวะแบบนี้”
อย่างไรก็ตามการลงทุนในช่วงนี้ สำหรับคนที่ลงทุนแบบทยอยลงทุนในระยะยาว DCA (Dollar Cost Average) เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุน SSF, รวมถึง RMF หรือการลงทุนใดๆ ควรลงทุนบนความระมัดระวัง หากถึงเวลาที่จะกู้สินเชื่อเงินสด หรือสมัครบัตรกดเงินสดแล้วล่ะก็ อย่าลืมเปรียบเทียบก่อนสมัครนะครับ เพื่อที่ให้ได้ดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุด และถ้าหากใครต้องสินเชื่อดีๆ ที่ ซีเอแอล ลิสซิ่ง ช่วยคุณได้ในทุกปัญหาการเงิน